ประวัติ
ดร.มหาเธร์ บิน มูฮัมหมัด
เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2468 ที่อะลอร์สตาร์ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ศึกษาจบคณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมลายา
ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเรียนจบทำงานเป็นแพทย์ได้ 2 ปี ก่อนลาออกจากราชการ
สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐบ้านเกิด เป็น ส.ส. อยู่ 14 ปี
ก็สมัครเป็นวุฒิสมาชิก และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ดร.มหาเธร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่
4 ของประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546
ทัศนคติ
ดร.มหาเธร์ บิน มูฮัมหมัด นิยมการแก้ไขปัญหาโดยการพึ่งตัวเอง
ซึ่งก็เป็นตัวนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ผลงานที่โดดเด่นและโด่งดังไปทั่วโลกคือ
การปฏิเสธการช่วยเหลือจาก IMF หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อปี
พ.ศ. 2540 แล้วใช้วิธีสวนกระแสโลกนั่นคือ การควบคุมค่าเงิน (Money control) ทำให้ตะวันตกไม่พอใจดร.มหาเธร์ เป็นอย่างมาก
ครั้งหนึ่ง ดร.มหาเธร์เคยขัดแย่งกับอังกฤษ
จึงดำเนินนโยบายต่อต้านสินค้าอังกฤษที่เรียกว่า Buy British
last นั่นคือการเลือกซื้อสินค้าอังกฤษเป็นตัวเลือกอย่างสุดท้าย
ต้องซื้อจากประเทศอื่นก่อนเว้นเสียแต่ว่าหาสินค้าจากประเทศอื่นไม่ได้แล้ว
ดร.มหาเธร์ค่อนข้างเป็นเผด็จการทางความคิดเช่น
กรณีที่ปลดนายอันวาร์ อิบราฮิม รองนายกรัฐมนตรี เพราะความคิดเห็นไม่ตรงกันเรื่องการรับความช่วยเหลือจาก
IMF
และการที่นายอันวาร์เรียกร้องให้พรรคอัมโนยุติพฤติกรรมคอร์รัปชันและการเล่นพรรคเล่นพวก
อย่างไรก็ตามดร.มหาเธร์เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
มีบทบาทในการกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศอย่างสูง จนสามารถกล่าวได้ว่า วิสัยทัศน์ของมาเลเซียก็คือวิสัยทัศน์ของดร.มหาเธร์ ในการสัมมนา
สุนทรพจน์
ในเวทีสัมมนานานาชาติ “Assessing
ASEAN’s Readiness by Country: Opportunities, Concerns, and Preparedness towards
the AEC 2015” มี ดร.มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรี
ประเทศมาเลเซีย กล่าวปาฐกถาพิเศษ พร้อมตัวแทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมเสวนา
ดร.มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด
อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า
แนวทางการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนควรศึกษาบทเรียนการรวมกลุ่มของยุโรปเป็นสหภาพยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป
“สหภาพยุโรปในปัจจุบันที่ประสบวิกฤติดูเหมือนเขาประสบผลพวงที่ไม่คาดหวังมาก่อน
ยุโรปเกิดวิกฤติมา 5 ปีแล้วยังแก้ไขไม่ได้ แม้วันนี้ดีขึ้นแต่ยังไม่ฟื้นตัวขึ้น
และยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ มองมาที่อาเซียน เราต้องเป็นประชาคมคล้ายๆ
ยุโรป แต่เราควรทำให้ดีกว่า เราต้องดูว่ายุโรปเคยล้มเหลวอย่างไร
เราต้องหลีกเลี่ยง” ดร.มหาเธร์กล่าว
วิกฤติที่เกิดขึ้นในยุโรปเมื่อ 5
ปีที่แล้วต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่ามีสาเหตุจากการรวมกลุ่มเป็นสหภาพยุโรป
ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างประเทศยุโรปตะวันตกซึ่งเป็นประเทศที่ระดับเศรษฐกิจก้าวหน้ามากกว่ายุโรปตะวันออกที่ระดับการพัฒนาด้อยกว่า
กลายเป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมกัน และวิธีการที่ยุโรปผิดพลาดคือ
ตกลงใช้เงินสกุลเดียวกัน และการจัดทำงบประมาณต้องตั้งงบเป็นเงินยูโร
นี่คือต้นตอที่ทำให้เกิดวิกฤติในสหภาพยุโรป
การรวมกลุ่มเป็นสภาพยุโรปที่มีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศที่มีฐานะดีกว่ากับประเทศที่ฐานะด้อยกว่า
เมื่อมีการใช้เงินสกุลเดียวกัน ราคาสินค้าเดียวกัน ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น
ราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น กระทบประเทศยากจน
เพราะต้องพยายามรักษาวิถีชีวิตระดับสูง จนในที่สุดต้องล้มละลาย เช่น กรีซ
เพราะทำให้ต้องกู้ยืมเงินเพื่อแก้ปัญหาระยะสั้นตัวเอง
และแทนที่จะนำเงินไปใช้ลงทุนเป็นประโยชน์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
แต่กลับกู้ยืมเอามาเสียค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภค กลายเป็นหนี้จนล้มละลาย
ดร.มหาเธร์กล่าวว่า
มาเลเซียไม่เสนอให้ใช้เงินสกุลเดียวกัน เพราะจะมีปัญหาเป็นผลร้ายต่อเศรษฐกิจ
แต่ละประเทศควรให้เงินสกุลท้องถิ่นของแต่ละประเทศก็ใช้กันไป
แต่ที่จะเสนอต่อไปคือให้สกุลเงินที่ค้าขายระหว่างกันในอาเซียนโดยการกำหนดค่าเงินนั้นต้องอิงกับราคาทองคำแทนเงินดอลลาร์ที่ปัจจุบันใช้เป็นสกุลเงินซื้อขายระหว่างกันในอาเซียน
เนื่องจากเงินดอลลาร์ไม่เสถียรภาพ
แต่จะเป็นเงินสกุลใดนั้น
ดร.มหาเธร์เสนอว่า ต้องดูในแง่ของราคาสินค้าและบริการ
และการเปลี่ยนแปลงนั้นคาดว่าในปี 2050
เราอาจจะพร้อมมาดูเรื่องสกุลเงินการค้าระหว่างประเทศ
และถ้ามีสกุลเงินการค้าขายระหว่างอาเซียนกันเองจะสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
“การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแต่ละประเทศจะมีผลกระทบไม่เท่ากัน
และในแง่ของการทำแนวนโยบายร่วมกันของอาเซียนเราต้องมองตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป
ก่อนจะกำหนดโครงสร้างต่างๆ ก่อนจะไปดำเนินการต่อ” ดร. มหาเธร์กล่าว
ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมในอาเซียน
ดร.มหาเธร์กล่าวว่า เราต้องพยายามพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุดของแต่ละประเทศสมาชิก
เราต้องค่อยๆ ลดภาษี บางประเทศอาจมีกำแพงภาษีบางอย่างไว้
เราก็ต้องยอมผ่อนปรนในเรื่องข้อกำหนดถ้าเขายังมีอุปสรรค
เพราะถ้าลดภาษีทันทีเขาจะไม่ได้ประโยชน์เต็มที่จากประชาคมอาเซียน
การวางนโยบายต้องเกิดประโยชน์กับทุกประเทศในอาเซียน
“ผมคิดว่าเราควรจะรวมกัน
แต่ผ่อนปรนให้ลาว กัมพูชา พม่า เพราะเศรษฐกิจยังไม่พัฒนาเท่าประเทศอื่น
โดยอาจยอมให้ภาษีศุลกากรลดลงเหลือ 10-20% โดยไม่บังคับให้ลดภาษีเหลือ 0%
เพราะต้องคำนึงถึงระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ด้วย” ดร.มหาเธร์กล่าว
ดร.มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด
อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า
แนวทางการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนควรศึกษาบทเรียนการรวมกลุ่มของยุโรปเป็นสหภาพยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป
“สหภาพยุโรปในปัจจุบันที่ประสบวิกฤติดูเหมือนเขาประสบผลพวงที่ไม่คาดหวังมาก่อน
ยุโรปเกิดวิกฤติมา 5 ปีแล้วยังแก้ไขไม่ได้ แม้วันนี้ดีขึ้นแต่ยังไม่ฟื้นตัวขึ้น
และยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ มองมาที่อาเซียน เราต้องเป็นประชาคมคล้ายๆ
ยุโรป แต่เราควรทำให้ดีกว่า เราต้องดูว่ายุโรปเคยล้มเหลวอย่างไร
เราต้องหลีกเลี่ยง” ดร.มหาเธร์กล่าว
วิกฤติที่เกิดขึ้นในยุโรปเมื่อ 5
ปีที่แล้วต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่ามีสาเหตุจากการรวมกลุ่มเป็นสหภาพยุโรป
ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างประเทศยุโรปตะวันตกซึ่งเป็นประเทศที่ระดับเศรษฐกิจก้าวหน้ามากกว่ายุโรปตะวันออกที่ระดับการพัฒนาด้อยกว่า
กลายเป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมกัน และวิธีการที่ยุโรปผิดพลาดคือ
ตกลงใช้เงินสกุลเดียวกัน และการจัดทำงบประมาณต้องตั้งงบเป็นเงินยูโร
นี่คือต้นตอที่ทำให้เกิดวิกฤติในสหภาพยุโรป
การรวมกลุ่มเป็นสภาพยุโรปที่มีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศที่มีฐานะดีกว่ากับประเทศที่ฐานะด้อยกว่า
เมื่อมีการใช้เงินสกุลเดียวกัน ราคาสินค้าเดียวกัน ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น
ราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น กระทบประเทศยากจน
เพราะต้องพยายามรักษาวิถีชีวิตระดับสูง จนในที่สุดต้องล้มละลาย เช่น กรีซ
เพราะทำให้ต้องกู้ยืมเงินเพื่อแก้ปัญหาระยะสั้นตัวเอง
และแทนที่จะนำเงินไปใช้ลงทุนเป็นประโยชน์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
แต่กลับกู้ยืมเอามาเสียค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภค กลายเป็นหนี้จนล้มละลาย
ดร.มหาเธร์กล่าวว่า
มาเลเซียไม่เสนอให้ใช้เงินสกุลเดียวกัน เพราะจะมีปัญหาเป็นผลร้ายต่อเศรษฐกิจ
แต่ละประเทศควรให้เงินสกุลท้องถิ่นของแต่ละประเทศก็ใช้กันไป
แต่ที่จะเสนอต่อไปคือให้สกุลเงินที่ค้าขายระหว่างกันในอาเซียนโดยการกำหนดค่าเงินนั้นต้องอิงกับราคาทองคำแทนเงินดอลลาร์ที่ปัจจุบันใช้เป็นสกุลเงินซื้อขายระหว่างกันในอาเซียน
เนื่องจากเงินดอลลาร์ไม่เสถียรภาพ
แต่จะเป็นเงินสกุลใดนั้น
ดร.มหาเธร์เสนอว่า ต้องดูในแง่ของราคาสินค้าและบริการ
และการเปลี่ยนแปลงนั้นคาดว่าในปี 2050
เราอาจจะพร้อมมาดูเรื่องสกุลเงินการค้าระหว่างประเทศ และถ้ามีสกุลเงินการค้าขายระหว่างอาเซียนกันเองจะสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
“การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแต่ละประเทศจะมีผลกระทบไม่เท่ากัน
และในแง่ของการทำแนวนโยบายร่วมกันของอาเซียนเราต้องมองตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป
ก่อนจะกำหนดโครงสร้างต่างๆ ก่อนจะไปดำเนินการต่อ” ดร. มหาเธร์กล่าว
ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมในอาเซียน
ดร.มหาเธร์กล่าวว่า เราต้องพยายามพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุดของแต่ละประเทศสมาชิก
เราต้องค่อยๆ ลดภาษี บางประเทศอาจมีกำแพงภาษีบางอย่างไว้
เราก็ต้องยอมผ่อนปรนในเรื่องข้อกำหนดถ้าเขายังมีอุปสรรค เพราะถ้าลดภาษีทันทีเขาจะไม่ได้ประโยชน์เต็มที่จากประชาคมอาเซียน
การวางนโยบายต้องเกิดประโยชน์กับทุกประเทศในอาเซียน
“ผมคิดว่าเราควรจะรวมกัน
แต่ผ่อนปรนให้ลาว กัมพูชา พม่า เพราะเศรษฐกิจยังไม่พัฒนาเท่าประเทศอื่น
โดยอาจยอมให้ภาษีศุลกากรลดลงเหลือ 10-20% โดยไม่บังคับให้ลดภาษีเหลือ 0%
เพราะต้องคำนึงถึงระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ด้วย” ดร.มหาเธร์กล่าว
ที่มา: https://thaipublica.org/2013/09/aec-2015-mahathir-mohammad/
: หนังสือการ์ตูนออนไลน์ บุคคลสำคัญในอาเซียน
นางสาว ธันยพร แดนพิพัฒน์ ม.6 ห้อง 144 เลขที่ 10😄
นางสาว ธันยพร แดนพิพัฒน์ ม.6 ห้อง 144 เลขที่ 10😄
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น